โรคเกี่ยวกับตาที่มักเกิดเมื่ออายุมากขึ้น
อายุที่เพิ่มขึ้นหมายถึงสุขภาพที่อาจจะมีการเสื่อมสภาพลงตามวัยเช่นกัน ดวงตาเป็นอวัยวะหนึ่งที่อาจมีปัญหาเพิ่มขึ้นเมื่อร่างกายแก่ตัวลง โรคเกี่ยวกับดวงตาที่มาพร้อมกับอายุมีตัวอย่างเช่น
สายตายาว เป็นอาการที่เกิดได้ตามอายุเนื่องจากเลนส์ตาขาดความยืดหยุ่น กล้ามเนื้อในตาอ่อนแรงลงทำให้ปรับกำลังของตาในการมองระยะใกล้ได้น้อยลง อาจมีการทำเลสิคเพื่อแก้ไขสายตาได้
เป็นต้อ อย่างต้อกระจก สาเหตุเกิดจากเลนส์แก้วตาที่แข็งและขุ่นมากกว่าเดิม ทำให้มองภาพค่อนข้างมัว เห็นภาพซ้อน การผ่าตัดต้อกระจกจะช่วยป้องกันอาการปวดตา หรือการเกิดต้อหินแทรกซ้อนได้
จอรับภาพเสื่อมตามวัย เกิดจากจุดรับภาพในบริเวณกลางจอประสาทตาเสื่อม ทำให้มองภาพไม่ชัด พร่ามัว มองเห็นจุดดำหรือเงากลางภาพ ควรรีบทำการรักษากับจักษุแพทย์อย่างทันท่วงทีเพื่อชะลอการเสื่อมสภาพของจอรับภาพ
แต่เราสามารถชะลอการแก่ตัวของสายตาและดวงตาได้ด้วยการปรับพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำร้ายดวงตา และหันมาบำรุงสายตาเพื่อสุขภาพดวงตาที่ดีและยืนยาว รวมถึงการบริโภคอาหารที่ช่วยบำรุงสายตาด้วย
นอกจากการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันแล้ว การได้รับสารอาหารเพื่อเป็นการบำรุงสายตา bmgเป็นอีกวิธีหนึ่งเพื่อดูแลรักษาและบำรุงดวงตาของเราอยู่เสมอ โดยสารอาหารบำรุงสายตาได้แก่
1. วิตามินกลุ่มต่างๆ
วิตามินเอ (Vitamin A)
Vitamin A วิตามินเอมีส่วนช่วยในการปกป้องกระจกตา ช่วยเรื่องการมองเห็นในที่ที่มีแสงน้อยหรือที่มืด โดยวิตามินเอที่หาได้ไม่ยาก บริโภคได้ง่าย มักอยู่ในผักผลไม้บางประเภทที่มีสาร “แคโรทีนอยด์” (Carotenoid) ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายใช้สร้างวิตามินเอ พบได้ในผักผลไม้สีเหลือง ส้ม เขียว เช่นแครอท ฟักทอง ตำลึง แคนตาลูป และอาหารอื่นเช่น นม ชีส ไข่แดง ตับ ด้วยเช่นกัน
วิตามินซี (Vitamin C)
Vitamin C วิตามินซีมีส่วนช่วยในการป้องกันการเสื่อมของเซลล์ ช่วยในการป้องกันการเกิดต้อประเภทต่างๆ โดยวิตามินเอสามารถพบได้มากในผักและผลไม้อย่าง คะน้า กะหล่ำปลี หน่อไม้ฝรั่ง และผลไม้ตระกูลส้ม ผลไม้ประเภทเบอร์รี่
วิตามินอี (Vitamin E)
Vitamin E วิตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงและมีส่วนช่วยบำรุงระบบประสาทตา ชะลอการเสื่อมก่อนวัย เช่น การเกิดโรคต้อกระจกหรือจอประสาทตาเสื่อม พบได้ในน้ำมันมะกอก อะโวคาโด เมล็ดทานตะวัน
2. สารแคโรทีนอยด์
ลูทีน (Lutein)
ซีแซนทิน (Zeaxanthin)
สารแคโรทีนอยด์อย่าง ลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin) เป็นสารต้านออนุมูลอิสระ ช่วยลดโอกาสการเกิดโรคต้อกระจกได้ พบได้ในผักใบเขียว มักเป็นตระกูลคะน้า เช่น ผักคะน้า เคล ผักโขม ปวยเล้ง หรือส้มเขียวหวาน และผักผลไม้ประเภทอื่นด้วย
3. กรดไขมันโอเมก้า 3 (Omega-3 Fatty Acid)
กรดไขมันโอเมก้า 3 (Omega-3 Fatty Acid) หรือ โอเมก้าสาม เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว และยังเป็นโครงสร้างไขมันสำคัญในการบำรุงสมองและจอประสาทตาอีกด้วย ช่วยป้องกันภาวะตาแห้งได้ พบมากในอาหารทะเลบางประเภท เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน และผักผลไม้บางชนิด เช่น อะโวคาโด
4.แร่ธาตุสังกะสี (Zinc)
แร่ธาตุสังกะสี (Zinc) มีส่วนช่วยในการลดโอกาสจอประสาทตาเสื่อม อาการตาบอดกลางคืน ตาพร่ามัว และสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้ แร่ธาตุสังกะสีพบได้ในอาหารทะเล ประเภทหอย และธัญพืช ไข่ ผลิตภัณฑ์จากนม